การพัฒนาบุคลากร

โอกาสและความท้าทาย

KEX เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยคน และทำธุรกิจเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้น ดังนั้น กลยุทธ์เรื่องคนและการลงทุนในทรัพยากรบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นที่ผูกอยู่ในตัวชี้วัดระดับองค์กรและระดับสายงาน จากการสำรวจความคาดหวังของพนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง KEX พบว่าเรื่องโอกาสการได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาเป็นสิ่งที่พนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่เสาะแสวงหา มิใช่เพียงแต่การได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ขณะที่การเปลี่ยนแปลงและก้าวกระโดดทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว สภาพการแข่งขันในตลาดขนส่งพัสดุด่วน ผู้ที่จะเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดได้ก็คือองค์กรที่เป็น Agile organization ซึ่งมีคนทำงานที่พร้อมปรับเปลี่ยนและรองรับต่อความท้าทายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

กลยุทธ์และแนวทางบริการจัดการ

KEX มีนโยบายการพัฒนาบุคลากรและแผนในการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้ทีมงาน People Development และแผนการพัฒนาบุคลากรภายใต้ Kerry University โดยแผนการพัฒนาบุคลากรแบ่งออกเป็น การพัฒนาผู้นำในอนาคตตามแผนสืบทอดตำแหน่ง (Leadership development) การพัฒนาขั้นพื้นฐาน (Core training) การพัฒนาในทักษะที่จำเป็นตามหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงาน (Functional skill) และการพัฒนาความรู้ในระดับบริหารสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (Management skill) โดยกำหนดตัวชี้วัดทั้งที่เป็นรูปแบบการเงินและมิใช่ทางการเงิน อาทิ อัตราการทดแทนตำแหน่งที่ว่างจากบุคลากรภายใน (Percentage of vacant positions filled by internal candidates)

รูปแบบการฝึกอบรมของ KEX เน้นการทำผ่าน Digital Learning บนระบบ Kerry Kuru และการอบรมผู้นำการฝึกอบรมในระดับหน้างาน (Train the trainer) เพื่อให้สามารถเข้าถึงพนักงานที่อยู่ในภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงรองรับมาตรการทำงานจากที่บ้าน โดยอัตราความสำเร็จในปีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยของพนักงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและครอบคลุมบุคลากรทุกกลุ่ม จากเดิมที่การจัดอบรมในห้องเรียนสามารถเข้าถึงบุคลากรเฉพาะกลุ่มจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถผันบุคลากรที่ปกติต้องทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมให้มารับผิดชอบงานที่มีคุณค่ามากขึ้นเนื่องจากหลักสูตรได้ถูกพัฒนาและลงระบบ Kerry Guru เรียบร้อยแล้ว

สำหรับแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession plan) เริ่มจากการกำหนดบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญและผู้บริหารระดับสูง การจัดทำแผนพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับตำแหน่งที่วางไว้ทั้งการเติบโตตามสายงานและข้ามสายงาน (cross functional skill) การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลทุกๆ 6 เดือน ครอบคลุมถึงการทบทวนผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งทั้งจากบุคลากรภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

การดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ

โอกาสและความท้าทาย

การดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรเป็นเครื่องมือที่มีช่วยเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์การในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อรูปแบบทางธุรกิจและการแข่งขันมีความท้าทายมากขึ้น ทำอย่างไรที่จะทำให้พนักงานในองค์กรมีความภาคภูมิใจและเป็นกระบอกเสียงให้กับบริษัท สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและเปิดโอกาสให้คนทุกคนสามารถสร้างผลงานและส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความสำเร็จได้ การสร้างให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ากับองค์กรและสามารถส่งมอบคุณค่านั้นกลับคืนมาให้องค์กร มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพและได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับผลการปฏิบัติงาน และการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

กลยุทธ์และแนวทางบริการจัดการ

การเปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

ตั้งแต่เริ่มต้นบริษัท KEX เป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ดังจะเห็นจากค่าเฉลี่ยอายุของพนักงานอยู่ที่ 30 ปี และการวางหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับโครงสร้างค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง และส่งเสริมคนเก่งควบคู่คนดี

ในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี KEX มีการกำหนดค่านิยมองค์กร ที่เรียกว่า HI STEP โดยมีการส่งเสริมทั้งในรูปแบบของแคมเปญ HI STEP THE HERO เพื่อเชิดชูพนักงานที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การปฏิบัติเชิงรูปธรรมได้ ผ่านการชมเชยให้เพื่อพนักงานทุกคนทราบ รวมถึงการให้รางวัล HI STEP The Idol บุคคลต้นแบบกับพนักงานที่ช่วยเหลือสังคมและมีการปฏิบัติงานตามค่านิยมองค์กร

นอกจากนี้ ในแต่ละปี รางวัล Most Valued People หรือ MVP Awards จะถูกมอบให้กับพนักงานที่สร้างประโยชน์หรือมีความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร และสามารถสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรในแต่ละด้าน โดยหัวหน้าของแต่ละสายงานจะทำการคัดเลือกพนักงานในสายงานของตนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับรางวัลเพื่อเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา

KEX ยังส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีความตระหนักในเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลและการเคารพสิทธิของผู้อื่น ความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ อายุ และชาติกำเนิด โดยมีการประกาศใช้นโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนที่ครอบคุลมถึง นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ นโยบายการไม่ใช้แรงงานเด็กและบังคับใช้แรงงาน นโยบายการส่งเสริมความเท่าเทียมของสตรี และออกมาตรการต่างๆ อาทิ การจัดสรรงานที่เหมาะสมสำหรับพนักงานผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ การอนุญาตให้พนักงานผู้ชายสามารถลางานไปดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรได้ การกำหนดน้ำหนักของพัสดุที่พนักงานหญิงและพนักงานชายจะต้องรับผิดชอบในการขนย้ายให้แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกัลสรีระทางร่างกาย และการนำอุปกรณ์ทุ่นแรงและรถยกเข้ามาช่วยงาน KEX ได้ทำการสื่อสารให้กับพนักงานทุกระดับทราบและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง และบรรจุเป็นหนึ่งในหัวข้อฝึกอบรมภาคบังคับที่ทั้งพนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบันจะต้องผ่านการอบรมและประเมินผลทุกปี

ในปีที่ผ่านมา KEX ได้ขยายแนวปฏิบัติดังกล่าวให้ครอบคลุมกลุ่มพนักงานของพันธมิตรซึ่งเป็นบริษัทขนส่ง (Sub-contractors) ผ่านการบรรจุในจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) ระเบียบจัดซื้อ และสัญญาทางธุรกิจ โดยหน่วยงานจัดซื้อของบริษัทจะจัดทำแผนงานในการเข้าไปสื่อสารและสุ่มตรวจสอบพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นคู่ค้ารายสำคัญในทุกปี

การกำหนดแผนพัฒนาเฉพาะสำหรับพนักงานที่เป็นกลุ่ม Talent

KEX มีการกำหนดคุณสมบัติและตำแหน่งของพนักงานที่ถือว่าเป็น Talent โดยวางแผนพัฒนาบุคลากร (Talent development) แผนการเติบโตในสายอาชีพ (Career planning) ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPI) และโครงสร้างค่าตอบแทน (Compensation structure) ที่แตกต่างจากพนักงานทั่วไปเพื่อให้ดึงดูดและรักษากลุ่มพนักงานเหล่านี้ไว้กับองค์กร

จากการดำเนินตามแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร การดึงดูดและรักษาพนักงานในกลุ่ม Talent และบุคคลที่มีความสามารถ รวมถึงการกำหนดโครงสร้างผลตอบแทนและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ทำให้ในปีที่ผ่านมาคะแนนความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร (Employee engagement score) ปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 69 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 67 และมากกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันและอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกันในประเทศ

โครงสร้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรม